วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
กิจกรรมที่ 6 แสดงความคิดเห็น
ตามที่ได้เรียนรู้วิธีการสร้างบล็อกและใช้ส่งงานอาจารย์มาแล้วนั้น ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเหมาะสมอย่างมากที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหาร โดยจะนำไปสร้างบล็อกรายวิชาที่สอนและบล็อกโรงเรียนดังที่กล่าวในกิจกรรมที่ 4 ผลดี ของการใช้งานบล็อกคือได้ความรู้เพิ่มเติม ได้ชิ้นงานนวัตกรรมการสอนใหม่ซึ่งเหมาะสำหรับโรงเรียนที่มีสื่อเทคโนโลยีพร้อม ผลเสีย อาจทำให้เกิดภาระงานมากขึ้นเนื่องจากอาจารย์สามารถสั่งงานผ่านบล็อกได้เลย และนักศึกษาบางท่านอาจไม่ค่อยมีเวลาเช็คงานผ่านบล็อกทำให้การส่งงานล่าช้าไปบ้างในบางครั้ง......แต่ก็มีความสุข สนุกกับการเรียนรู้เรื่องบล็อกดีคะ
วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
กิจกรรมที่ 5 ศึกษาดูงานมาเลเซีย-สิงคโปร์
- การศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ มีขั้นตอนดังนี้
- เสนอโครงการศึกษาดูงานต่างประเทศต่อมหาวิทยาลัยฯ
- ติดต่อบริษัททัวร์
- ทำพาสปอต (passport)
- ขออนุญาตหน่วยงานต้นสังกัด
- เดินทางโดยรถบัสสู่ดินแดนมาเลเซีย-สิงคโปร์
- บรรยากาศและสิ่งที่พบปะจากการศึกษาดูงานในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์มีข้อแตกต่างกันมาก คือเรื่องที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ในมาเลเซียเจ้าหน้าที่จะเป็นกันเองมาก ทักทายยิ้มแย้มแจ่มใสคล้ายคนไทย การตรวจก็ไม่อะไรมาก แต่ในสิงคโปร์ตรวจเข้มมากสแกนตรวจรถด้วย..ยิ่งหมากฝรั่งและของมีคมยิ่งห้าม คนสิงคโปร์ทุกเวลา ทุกนาทีมีค่ามาก ผู้คนจะทำอะไรแบบเร่งรีบมาก คนไทยแทบจะต้องวิ่งตามจึงจะทัน การติดต่อสื่อสารกับผู้คนไม่ค่อยยิ้มแย้มแจ่มใส..หรือพูดง่ายๆ ว่าหน้าตาไม่ค่อยรับแขกสักเท่าไหร่ เจ้าหน้าที่ด่านตรวจหน้าตาดุ๊ดุ..........ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยรวมทั้ง 2 ประเทศดีพอๆ กัน มาตบท้ายที่เรื่องอาหารการกิน.....ทั้ง 2 ประเทศมีรสชาติอาหารแตกต่างจากบ้านเรามาก ที่มาเลเซียเน้นเครื่องเทศชนิดต่างๆ ส่วนสิงคโปร์อาหารค่อนข้างจืดชืดไร้รสชาติ...สู้แกงไตปลาบ้านเราก็ไม่ได้..คราวหน้าถ้าใครจะไปทั้ง 2 ประเทศนี้อีก...ขอแนะนำให้พกพาอาหารแห้ง เช่น น้ำพริกและเครื่องปรุงรสชาติอาหารพวกซอสหรือน้ำปลาไปด้วยนะคะ
กิจกรรมที่ 4 ศึกษาระบบข้อมูลของสถานศึกษา(โรงเรียนวัดกะเปียด)
- โรงเรียนวัดกะเปียด ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 ต. กะเปียด อ. ฉวาง จ. นครศรีธรรมราช 80260 เบอร์โทรศัพท์ 0-7552-0229 พืชเศรษฐกิจของชาวกะเปียดคือ ยางพารา ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวน
- บุคลากรของโรงเรียนวัดกะเปียด มี ครู 13 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูจ้าง 2 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน และพนักงานบริการ (ภารโรง) 1 คน นักเรียนมีทั้งหมด 192 คน ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของโรงเรียนวัดกะเปียดมีการจัดเก็บข้อมูลเป็นหมวดหมู่ มีแฟ้มแยกเก็บข้อมูลเป็นฝ่ายงานต่างๆ ซึ่งข้อมูลต่างๆ จะถูกจัดเก็บไว้โดยใช้สื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยมีเจ้าหน้าที่ธุรการและเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ช่วยในการพัฒนาระบบให้ดีขึ้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับปรุงฐานข้อมูลใหม่ๆ ให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น เนื่องจากครูที่มีส่วนรับผิดชอบงานด้านการจัดเก็บฐานข้อมูล บางท่านมีการโยกย้ายสถานที่ทำงาน จึงมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบในบางฝ่ายงานใหม่
- นวัตกรรม ที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการของโรงเรียนวัดกะเปียด คือ การจัดทำเว็บไซต์โรงเรียนเพื่อให้สะดวกในการค้นหาฐานข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ของโรงเรียนและใช้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆของสถานศึกษาให้เป็นที่รู้จักของชุมชนมากขึ้น ผนวกกับการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่ออิเลกทรอนิกส์ต่างๆ เช่น E-learning เข้ามาร่วมเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าไปส่งงานหรือศึกษา ทบทวน เนื้อหาสาระวิชาความรู้ต่างๆ ได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา
จุดเด่น โรงเรียนวัดกะเปียดมีนักเรียนที่มีทักษะในการใช้ภาษาไทยในการแต่งกลอน และร้องเพลงบอกได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีการฝึกทักษะการนวดแผนไทยให้แก่นักเรียนเพื่อเป็นอาชีพเสริมให้ด้วย
จุดด้อย โรงเรียนวัดกะเปียดเป็นโรงเรียนขยายโอกาส นักเรียนที่เข้ามาเรียนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยรู้เท่าทันสังคมภายนอก จึงง่ายต่อการถูกชักชวนไปในทางที่ไม่ดีไม่ควร
ดังนั้น ความรู้จากการเรียนการสร้างบล็อกมา น่าจะได้นำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในนวัตกรรมเรื่องนี้ได้ และอาจเผยแพร่ความรู้ให้แก่เพื่อนครูคนอื่นๆ ได้นำมาสร้างบล็อกความรู้ส่วนตัว เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้มากยิ่งขึ้น
วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553
กิจกรรมที่ 3 สรุปขั้นตอนการนำข้อมูลลงในโปรแกรม spss for windows
1. เปิดโปรแกรม SPSS For Window
2. ภายในหน้าต่าง ๆ ของ SPSS ให้คลิกที่ “Variable view” ก็จะปรากฏหน้าต่างเป็นตารางออกมาแล้วก็พิมพ์ คำว่า
2. ภายในหน้าต่าง ๆ ของ SPSS ให้คลิกที่ “Variable view” ก็จะปรากฏหน้าต่างเป็นตารางออกมาแล้วก็พิมพ์ คำว่า
- เพศ, a1, a2, a3, a4, b1, b2, b3, b4, c1, c2, c3, c4, d1, d2, d3 ลงในช่อง NAME คลิกช่อง TYPE จะปรากฏหน้าต่างมาให้ ให้คลิก STRING สำหรับข้อมูล แบบอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ข้อมูลชนิดนี้ไม่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณได้แต่สามารถหาความถี่ได้ เช่น Label ใช้สำหรับอธิบายตัวแปร เช่น SEX เราใช้ 1 แทนเพศชาย และ 2 แทนเพศหญิง
- พิมพ์เลข 1 ลงไปในช่อง “Value ” (แถวเดียวกับเพศ) และพิมพ์ คำว่า ชาย ลงในช่อง Value Label
คลิก Add พิมพ์ 2 ในช่อง Value และพิมพ์ คำว่าหญิง ในช่อง Value Label แล้วคลิก Add จากนั้นคลิก OK
คลิก Add พิมพ์ 2 ในช่อง Value และพิมพ์ คำว่าหญิง ในช่อง Value Label แล้วคลิก Add จากนั้นคลิก OK
- ใส่ระดับการประเมินค่า 1-น้อยที่สุด 2-น้อย 3-ปานกลาง 4-มาก 5-มากที่สุด ในช่อง value (แถว a1-d3)
- ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการในช่อง width
- เลือกจำนวนจุดทศนิยมที่ต้องการ (0) ในช่อง deimals
3. คลิกที่ “Data view” ใส่ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทุกชุดลงไป (20 ชุด)
- ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการในช่อง width
- เลือกจำนวนจุดทศนิยมที่ต้องการ (0) ในช่อง deimals
3. คลิกที่ “Data view” ใส่ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทุกชุดลงไป (20 ชุด)
4. Save ข้อมูลลงใน drive: D
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
-คำนวณผลรวม คลิก transform>compute-พิมพ์ taใน target variable แล้วเลือก sumใน function คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก OK
-เลือก transform>compute เหมือนเดิม –พิมพ์ tbใน target variable แล้วเลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก OK
-เลือก transform>compute -พิมพ์ tcใน target variable แล้วเลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก OK
-เลือก transform>compute -พิมพ์ tdใน target variable แล้วเลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก OK
-การหาค่าร้อยละ เลือกคำสั่ง analyze>descriptive statistic>frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3แล้วคลิก OK แสดงประมวลผล
-เลือก transform>compute เหมือนเดิม –พิมพ์ tbใน target variable แล้วเลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก OK
-เลือก transform>compute -พิมพ์ tcใน target variable แล้วเลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก OK
-เลือก transform>compute -พิมพ์ tdใน target variable แล้วเลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก OK
-การหาค่าร้อยละ เลือกคำสั่ง analyze>descriptive statistic>frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3แล้วคลิก OK แสดงประมวลผล
6. การหาค่าทางสถิติพื้นฐาน
- เปิดข้อมูลเดิมที่ทำเอาไว้ก่อนแล้ว
- คลิก Analyze>Descriptive Statistic > descriptive แล่วเลือกคำนวณได้ตามความต้องการ เช่น Mean : แสดงค่าเฉลี่ย, Median : แสดงค่ามัธยฐาน, Mode : แสดงค่าฐานนิยม, Sum : แสดงค่าผลรวม, Range : แสดงค่าพิสัย, Minimum : แสดงค่าต่ำสุด,Maximum : แสดงค่าสูงสุด เป็นต้น
- เปิดข้อมูลเดิมที่ทำเอาไว้ก่อนแล้ว
- คลิก Analyze>Descriptive Statistic > descriptive แล่วเลือกคำนวณได้ตามความต้องการ เช่น Mean : แสดงค่าเฉลี่ย, Median : แสดงค่ามัธยฐาน, Mode : แสดงค่าฐานนิยม, Sum : แสดงค่าผลรวม, Range : แสดงค่าพิสัย, Minimum : แสดงค่าต่ำสุด,Maximum : แสดงค่าสูงสุด เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้คำสั่งวิเคราะห์ข้อมูล
หาค่าเฉลี่ย หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของข้อคำถามรายข้อ รายด้าน และรวมทุกด้าน โดยใช้คำสั่ง Analyze > Descriptive Statistics > Descriptive > เลือกข้อมูลใส่ใน Variable ตามต้องการ > OK
วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
แนะนำตนเอง
ชื่อ นางสาวอรพรรณ นามสกุล ริยาพันธ์
ครู โรงเรียนวัดกะเปียด อ. ฉวาง สังกัด สพป.นศ. 2
วุฒิการศึกษา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เทคโนโลยีชีวภาพ)
ม. สงขลานครินทร์ (หาดใหญ่)
งานที่รับผิดชอบ หัวหน้างานวิชาการมัธยม
หัวหน้างานฝ่ายวัดผลประเมินผล
ผู้ช่วยเลขาศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 13
คติประจำใจ รู้เหตุ รู้ผล นำตนก้าวหน้า
ครู โรงเรียนวัดกะเปียด อ. ฉวาง สังกัด สพป.นศ. 2
วุฒิการศึกษา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เทคโนโลยีชีวภาพ)
ม. สงขลานครินทร์ (หาดใหญ่)
งานที่รับผิดชอบ หัวหน้างานวิชาการมัธยม
หัวหน้างานฝ่ายวัดผลประเมินผล
ผู้ช่วยเลขาศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 13
คติประจำใจ รู้เหตุ รู้ผล นำตนก้าวหน้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)